ประวัติวิทยาลัย
ประวัติวิทยาลัย

ข้อมูลและสภาพทั่วไปของสถานศึกษา

วิทยาลัยการอาชีพขุนหาญ สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษากระทรวงศึกษาธิการ เพื่อใช้ประโยชน์ในการพัฒนาในด้านต่างๆ เป็นการสนองตอบพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติพ.ศ. 2542 แก้ไข เพิ่มเติม(ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545 ภายใต้ภารกิจและยุทธศาสตร์สำคัญของสำนักงานคณะกรรมการสถานศึกษา ในด้านปริมาณ คุณภาพการบริการสังคม และสร้างผู้ประกอบการภายใต้การบริหารจัดการตามบทมาตรฐานการศึกษาแห่งชาติ และมาตรฐานการอาชีวศึกษาและภารกิจ ปรัชญา วิสัยทัศน์ พันธกิจ กลยุทธ์กำหนดไว้ในระยะกลาง ตลอดจนกำหนดทิศทางการพัฒนาที่นำเสนอให้แจ่มชัด จึงสรุปศักยภาพของสถานศึกษา วิทยาลัยการอาชีพขุนหาญ ดังต่อไปนี้

ประวัติการจัดตั้ง ที่ตั้ง เนื้อที่

วิทยาลัยการอาชีพขุนหาญ จังหวัดศรีสะเกษ สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ จัดตั้งขึ้นตามนโยบายขยายโอกาสทางการศึกษาด้านวิชาชีพสู่ท้องถิ่นของรัฐบาล กระทรวงศึกษาธิการได้ประกาศจัดตั้งวิทยาลัยการอาชีพขุนหาญ เมื่อวันที่ 18 มิถุนายน 2540 ปัจจุบันมีเนื้อที่รวม 68 ไร่ ตั้งอยู่เลขที่ 153 บ้านหนองแล้ง หมู่ที่ 8 ตำบลสิ อำเภอขุนหาญ จังหวัดศรีสะเกษ

จัดตั้งขึ้นตามนโยบายของรัฐบาล เห็นสมควรให้ขยายโอกาสการศึกษาด้านวิชาชีพให้กว้างขวางยิ่งขึ้น เพื่อสนองตอบความต้องการของประชาชนในชนบท และตลาดแรงงาน โดยเปิดทำการเรียนการสอนเมื่อปีการศึกษา 2541 เป็นปีการศึกษาแรก จำนวน 1 หลักสูตร คือ หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) ดังนี้

1. คณะวิชาช่างยนต์ สาขาวิชาช่างยนต์

2. คณะวิชาบริหารธุรกิจ สาขาวิชาพณิชยการ

และในปีการศึกษา 2542 ได้เปิดแผนกวิชาเพิ่มอีก 1 แผนก คือ แผนกวิชาช่างไฟฟ้ากำลัง วิทยาลัยการอาชีพขุนหาญ จัดเป็นสถานศึกษาของชุมชน รับผิดชอบพื้นที่อำเภอ คืออำเภอขุนหาญ อำเภอภูสิงห์ อำเภอไพรบึง อำเภอขุขันธ์ และอำเภอกันทรลักษ์บางส่วน มีความพร้อมด้านหลักสูตรการเรียน การสอนบุคลากร อาคาร สถานที่ วัสดุ ครุภัณฑ์ ที่ทันสมัย สามารถบริการให้ความรู้ทักษะด้านวิชาชีพต่อชุมชนได้อย่างทั่วถึงโดยไม่จำกัดอายุ เพศ และการศึกษา ตามวัตถุประสงค์ของการจัดการศึกษา ตาม พ.ร.บ. การศึกษา 2542 คือมุ่งให้ผู้สำเร็จการศึกษาทุกหลักสูตรด้านวิชาชีพสามารถไปประกอบอาชีพได้ทั้งภาครัฐ และภาคเอกชน มีความเชื่อมั่นในตนเอง สามารถสร้างงานเพื่อประกอบอาชีพอิสระ มีพื้นฐานความรู้ ทักษะ เพียงพอสำหรับการประกอบอาชีพของประชาชนในท้องถิ่นวิทยาลัยการอาชีพขุนหาญ มีหน้าที่จัดการศึกษาฝึกอบรม และส่งเสริมการประกอบอาชีพของประชาชนในท้องถิ่น ให้เป็นไปตามนโยบายของรัฐบาล และสอดคล้องกับการพัฒนาเศรษฐกิจสังคมของประเทศไทย จึงได้กำหนดแผนนโยบายการบริการจัดการเรียน การสอนดังนี้

1. จัดการศึกษาตามหลักสูตรและแผนการศึกษาของชาติ ให้สอดคล้องกับความต้องกการของท้องถิ่นในด้านเกษตร

กรรม คหกรรม พาณิชยกรรม สาขาวิชาต่างๆ

2. จัดการฝึกอบรม หลักสูตรระยะสั้น หลักสูตรพิเศษต่างๆ

3. วิเคราะห์ และส่งเสริมการพัฒนาวิชาชีพต่างๆ

4. ฝึกอบรมนักเรียน นักศึกษา ให้มีคุณธรรมจริยธรรมให้วิชาชีพ

5. ให้บริการแก่ชุมชน และหน่วยงานอื่นๆ

6. รับงานการค้าที่เหมาะสมกับการเรียนการสอน

7. ประสานงานกับสถานประกอบการ เพื่อส่งเสริมการประกอบอาชีพของนักเรียน นักศึกษา หรือผู้เข้ารับการฝึกอบรม

ตราวิทยาลัยการอาชีพขุนหาญ

คำอธิบาย: วก

สีประจำวิทยาลัยฯ ชมพู-เขียว

วิสัยทัศน์

เป็นผู้นำเทคโนโลยีของชุมชน ผลิตและพัฒนากำลังคนด้านวิชาชีพให้ได้มาตรฐาน

สร้างผู้ประกอบการใหม่ด้วยกลไกอาชีวศึกษา

ปรัชญา

ปรัชญา การศึกษาดี มีฝีมือ ยึดถือคุณธรรม นำสังคม

วิทยาลัยการอาชีพขุนหาญ ดำเนินการเรียนการสอน ภายใต้ปรัชญา

การศึกษาดี ดำเนินการทุกวิถีทาง เพื่อเปิดโอกาสให้ชุมชนได้มีโอกาสเรียนวิชาชีพในระดับสูงขึ้นเพื่อพัฒนาท้องถิ่น

มีฝีมือ ดำเนินการฝึกทักษะให้ผู้ผ่านการเรียนมีฝีมือ ประกอบอาชีพได้อย่างภาคภูมิ

ยึดถือคุณธรรม ดำเนินการสอดแทรกการเรียน การสอน คุณธรรมจริยธรรม เพื่อเป็นคนดีของสังคม

นำสังคม ดำเนินการให้ผู้เรียน เมื่อจบการศึกษา เป็นคนมีคุณภาพอยู่ในสังคมได้อย่างภาคภูมิ และเป็นผู้ที่จะนำสังคมไปสู่การพัฒนาต่อไป

พันธกิจ

1. พัฒนานวัตกรรม ด้านการจัดการเรียนการสอน และเทคโนโลยีที่สนองตอบต่อความต้องการ ของผู้เรียน และชุมชน

2. ร่วมกับชุมชนจัดการศึกษาในระดับ ปวช. ปวส. และฝึกอบรมอาชีพระยะสั้นที่หลากหลาย

3. พัฒนาศักยภาพผู้เรียน และสร้างความเข้มแข็งแก่ชุมชนด้วยกลไกอาชีวศึกษา

4. ส่งเสริมผู้เรียนให้มีประสบการณ์จริง ได้คุณภาพ มาตรฐานเพื่อออกสู่ตลาดแรงงาน และ เป็นผู้ประกอบการได้

5. จัดกิจกรรมส่งเสริมคุณธรรม (3D) น้อมนำเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อให้ผู้เรียนมีค่านิยมอันพึงประสงค์สามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันและประกอบอาชีพได้อย่างยั่งยืน

เป้าประสงค์

1. พัฒนาผู้เรียนและผู้สำเร็จการศึกษาวิชาชีพให้ได้คุณภาพ มาตรฐาน

2. ส่งเสริมครูและผู้เรียนให้เกิดการพัฒนานวัตกรรมและการวิจัย

3. สร้างเครือข่ายความร่วมมือเพื่อจัดการศึกษาด้านวิชาชีพ

4. พัฒนาผู้เรียนให้มีความรู้และประสบการณ์จริง เพื่อออกสู่ตลาดแรงงานและเป็นผู้ประกอบการ ได้อย่างมีคุณภาพ

5. ส่งเสริมครู บุคลากร และผู้เรียน ให้มีคุณธรรม จริยธรรม และค่านิยมอันพึงประสงค์ สามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน และประกอบอาชีพได้อย่างยั่งยืน

ยุทธศาสตร์เป้าหมายที่ 1 พัฒนาผู้เรียนและผู้สำเร็จการศึกษาวิชาชีพให้ได้คุณภาพ มาตรฐาน

1.1. พัฒนาผู้เรียนให้มีความรู้และทักษะวิชาชีพตามหลักสูตรที่เหมาะสมกับเศรษฐกิจสังคมและเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลงไป (พ.3/มีฝีมือ)

1.2. พัฒนาผู้เรียนให้มีความรู้ความเข้าใจในหลักการด้านคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ มีทักษะ ในการใช้ภาษาสื่อสาร สามารถนำมาประยุกต์ใช้ในอาชีพได้ (พ.3/การศึกษาดี)

1.3. พัฒนาผู้เรียนให้มีความรู้และทักษะตามมาตรฐานวิชาชีพ ทักษะในการหางานทำ ศึกษาต่อ และการประกอบอาชีพ (พ.4/มีฝีมือ)

1.4. พัฒนาผู้เรียนให้มีคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของหน่วยงานหรือสถานประกอบการ (พ.4/ การศึกษาดี มีฝีมือ)

ยุทธศาสตร์เป้าหมายที่ 2 ส่งเสริมครูและผู้เรียนให้เกิดการพัฒนานวัตกรรมและการวิจัย

2.1. พัฒนาครูและผู้เรียนให้มีความรู้และทักษะการใช้เทคโนโลยีที่จำเป็นในการศึกษาค้นคว้าและปฏิบัติงานวิชาชีพได้อย่างเหมาะสม (พ.1/มีฝีมือ)

2.2. ส่งเสริม สนับสนุนครูให้วิจัยและพัฒนานวัตกรรมสิ่งประดิษฐ์ เพื่อพัฒนาการเรียนการสอนชุมชน สังคม และประเทศชาติ (พ.4/มีฝีมือ นำสังคม)

ยุทธศาสตร์เป้าหมายที่ 3 สร้างเครือข่ายความร่วมมือเพื่อจัดการศึกษาด้านวิชาชีพ

3.1. สร้างเครือข่ายความร่วมมือในการจัดการศึกษา และฝึกอบรมด้านวิชาชีพ (พ.2/นำสังคม)

3.2. สนับสนุนบริการทางวิชาการและวิชาชีพเพื่อสร้างความเข้มแข็งแก่ชุมชน (พ.2/นำสังคม)

ยุทธศาสตร์เป้าหมายที่ 4 พัฒนาผู้เรียนให้มีความรู้และประสบการณ์จริง เพื่อออกสู่ตลาดแรงงาน

และเป็นผู้ประกอบการได้อย่างมีคุณภาพ

4.1. สนับสนุนผู้เรียนให้มีความรู้และประสบการณ์จริงจากการฝึกงานในสถานประกอบการ

และการเรียนเพื่อออกสู่ตลาดแรงงานและเป็นผู้ประกอบการได้อย่างมีคุณภาพ (พ.4/การศึกษาดี มีฝีมือ)

4.2 ส่งเสริม สนับสนุนการหารายได้ระหว่างเรียน (พ.4/มีฝีมือ)

ยุทธศาสตร์เป้าหมายที่ 5 ส่งเสริมครู บุคลากร และผู้เรียน ให้มีคุณธรรม จริยธรรม และค่านิยม

อันพึงประสงค์ สามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน และประกอบอาชีพได้อย่างยั่งยืน

5.1. จัดระบบส่งเสริม สนับสนุนเพื่อพัฒนาครูและผู้เรียนให้สามารถปฏิบัติตนตามหลักปรัชญา ของเศรษฐกิจพอเพียง มีคุณธรรม จริยธรรม ค่านิยมที่ดีงามในวิชาชีพ การมีบุคลิกภาพที่เหมาะสมและมนุษย์สัมพันธ์ที่ดี (พ.5/ยึดถือคุณธรรม)

5.2. จัดระบบการจัดการความรู้และสารสนเทศเพื่อพัฒนาสถานศึกษาอย่างเหมาะสม (พ.1,3/ การศึกษาดี มีฝีมือ ยึดถือคุณธรรม นำสังคม)

อัตลักษณ์ :: กิจกรรมดี มีจิตอาสา ร่วมพัฒนาเทคโนโลยี
เอกลักษณ์::ให้บริการวิชาการและวิชาชีพสู่สังคม