ข้อมูลจังหวัด
ข้อมูลจังหวัด/อำเภอ/ชุมขน
ข้อมูลจังหวัด/อำเภอ/ชุมขน

ข้อมูลพื้นฐานจังหวัดศรีสะเกษ
          1.1  ที่ตั้ง ประชากร และการปกครอง
(1) ที่ตั้ง
                    จังหวัดศรีสะเกษ  ตั้งอยู่ในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง เรียกว่า อีสานใต้                                
ห่างจากกรุงเทพมหานคร โดยทางรถยนต์ประมาณ 571 กิโลเมตร ทางรถไฟประมาณ 551 กิโลเมตร             
มีอาณาเขตติดต่อกับจังหวัดใกล้เคียง  ดังนี้
ทิศเหนือ        เขตอำเภอราษีไศล อำเภอศิลาลาด และอำเภอยางชุมน้อย ติดต่อกับจังหวัดร้อยเอ็ด       
ทิศใต้           เขตอำเภอขุขันธ์ อำเภอขุนหาญ และอำเภอกันทรลักษ์ ติดต่อกับประเทศกัมพูชาประชาธิปไตย
ทิศตะวันออก  เขตอำเภอกันทรลักษ์ อำเภอกันทรารมย์ และอำเภอโนนคูณ ติดต่อกับจังหวัดอุบลราชธานี
ทิศตะวันตก    เขตอำเภออุทุมพรพิสัย อำเภอปรางค์กู่ อำเภอห้วยทับทัน และอำเภอบึงบูรพ์  ติดต่อกับจังหวัดสุรินทร์
(2) ประชากร
                    จังหวัดศรีสะเกษมีประชากร รวมทั้งสิ้น 1,462,028 คน  เป็นชาย  731,029 คน 
เป็นหญิง 730,999 คน (ข้อมูล ณ เดือนธันวาคม พ.ศ.2556 ตามประกาศราชกิจจานุเบกษา)
(หมายเหตุ ข้อมูลปัจจุบัน ณ เดือนกันยายน พ.ศ.2557 ประชากร รวมทั้งสิ้น 1,463,907 คน 
เป็นชาย 731,794 คน เป็นหญิง 732,113 คน)
(3) การปกครอง
จังหวัดศรีสะเกษแบ่งการปกครองออกเป็น 2 ลักษณะ คือ
                             1. การปกครองส่วนภูมิภาค จังหวัดศรีสะเกษแบ่งการปกครองออกเป็น 22 อำเภอ 204  ตำบล 2,633 หมู่บ้าน (ข้อมูล ณ เดือนมกราคม พ.ศ.2558)
                             2. การปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัดศรีสะเกษแบ่งการปกครองออกเป็นองค์การบริหารส่วนจังหวัด 1 แห่ง  เทศบาลเมือง 2 แห่ง
 เทศบาลตำบล 35 แห่ง องค์การบริหารส่วนตำบล 179 แห่ง
(ข้อมูล ณ เดือนมกราคม พ.ศ.2558)
1.2  พื้นที่ ลักษณะภูมิประเทศและภูมิอากาศ
(1) พื้นที่
                    จังหวัดศรีสะเกษมีพื้นที่ประมาณ  8,839.90 ตารางกิโลเมตร หรือ 5,524,987.5 ไร่ 
(2) ภูมิประเทศ
                      พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นที่ราบสูงสลับทุ่งนามีภูเขาและป่าไม้อยู่ทางตอนใต้ และพื้นที่จะค่อยๆ ลาดลงสู่ทิศเหนือและทิศตะวันตก ซึ่งเต็มไปด้วย
ห้วย คลอง หนอง บึง ต่างๆ ตลอดระยะทางที่ลำน้ำมูลและลำน้ำชีไหลผ่าน  สภาพดินร้อยละ 60 เป็นลักษณะดินร่วนปนทรายที่มีการระบายน้ำดีแต่มีความอุดมสมบูรณ์ต่ำ 
และมีแนวชายแดนติดกับประเทศกัมพูชา ประมาณ 127 กม. ( อำเภอกันทรลักษ์  76 กม. อำเภอขุนหาญ 18 กม. และอำเภอภูสิงห์  33 กม. )


ข้อมูลอำเภอขุนหาญ

อำเภอขุนหาญ เป็นอำเภอหนึ่งของจังหวัดศรีสะเกษ มีขนาดพื้นที่ใหญ่เป็นอันดับที่ 4 รองจากอำเภอกันทรลักษ์ อำเภอภูสิงห์ และอำเภอขุขันธ์ ตามลำดับ และเป็นหนึ่งในสามอำเภอของจังหวัดศรีสะเกษที่มีพื้นที่ติดต่อกับประเทศกัมพูชา และยังเป็นพื้นที่ที่มีการปลูกเงาะ ทุเรียนที่มีชื่อเสียงของจังหวัดศรีสะเกษอีกด้วย
ที่ตั้งและอาณาเขต

อำเภอขุนหาญตั้งอยู่ทางทิศใต้ของจังหวัด มีอาณาเขตติดต่อกับเขตการปกครองข้างเคียงดังต่อไปนี้


ที่มาของอำเภอขุนหาญ[แก้]

"ขุนหาญ" เป็นชื่อของชาวเวียงจันทน์ซึ่งเป็นทหารมาพร้อมกับกองทัพพระเจ้าอนุวงศ์บุตรเจ้าศิริบุญสารผู้ครองกรุงศรีสัตนาคนหุต (เวียงจันทน์) ในขณะนั้นเวียงจันทน์เป็นเมืองขึ้นของไทยและต้องการแยกเป็นเอกราช เจ้าอนุวงศ์และเจ้าราชบุตรโย้จึงได้ยกกองทัพเมืองเวียงจันทน์และกองทัพเมืองจำปาศักดิ์ลงมาเพื่อตีกรุงเทพฯ และเพื่อนำเอาเชลยศึกชาวลาวที่ถูกสยามกวาดต้อนมาตั้งแต่สมัยธนบุรีกลับคืนบ้านเมือง ในวันที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2369 กองทัพลาวได้ยกทัพมาถึงเมืองนครราชสีมา (โคราช) ขณะนั้นเจ้าพระยามหานครราชสีมาไม่อยู่ และพระยาปลัดเมืองนครราชสีมาไปราชการเมืองขุขันธ์ ทัพลาวจึงเข้ายึดเมืองได้ ยึดเอาทรัพย์สิน และให้พระยารามพิชัยกวาดต้อนชาวเมืองโคราชไปเป็นเชลยศึกเพื่อจะนำไปยังเมืองเวียงจันทน์ เจ้าอนุวงศ์ยังได้สั่งให้ทัพหน้าไปกวาดต้อนเอาชาวลาวเวียงที่เมืองปากเพรียว (สระบุรี) เพื่อนำกลับไปยังเมืองเวียงจันทน์อีกด้วย ในบรรดาเชลยศึกมี คุณหญิงโม (ชาวลาวเรียกว่าคุณหญิง "โม้") รวมอยู่ด้วย คุณหญิงโมเป็นหญิงฉลาดรู้ทันว่าเจ้าอนุวงศ์หลอกลวง จึงออกอุบายให้ทหารเวียงจันทน์ตายใจโดยให้หญิงไทยที่ถูกต้อนมาด้วยที่เป็นเชลยยั่วยวนหน่วงเหนี่ยวทหารให้เดินทัพช้าลง วางแผนให้พวกผู้หญิงหลอกขอจอบ เสียม มีด ใช้ซ่อมเกวียนและทำอาหาร แท้จริงแล้วกลับนำจอบ เสียม มีด นั้น มาลอบตัดไม้เป็นอาวุธแอบซ่อนไว้ ในวันที่ ๒๓ มีนาคม พ.ศ. ๒๓๖๙ ณ ทุ่งสัมฤทธิ์แขวงพิมาย ขณะพักเป็นโอกาสเหมาะที่พวกผู้หญิงช่วยกันหลอกล่อมอมเหล้าทหารลาวจนเมามายไร้สติไปทั้งกองทัพ พอสบโอกาสทั้งหญิงชายก็แย่งอาวุธฆ่าฟันจนทหารล้มตายเป็นจำนวนมากจนกองทัพลาวแตกพ่ายแพ้ไป เมื่อชาวโคราชได้รับชัยชนะจึงตั้งค่ายอยู่ที่ทุ่งสัมฤทธิ์ ชาวบ้านที่หนีไปทราบข่าวก็ออกมาร่วมสมทบ ขณะเดียวกันพระยาปลัดเมืองที่ไปราชการเมืองขุขันธ์ก็ยกทัพกลับตามมาช่วยทันเวลา ส่วนเจ้าอนุวงศ์รู้ข่าวว่าทางกรุงเทพฯยกทัพขึ้นมาช่วยจึงเลิกทัพไป มีทหารลาวบางกลุ่มไม่ยอมกลับเวียงจันทน์โดยเฉพาะกลุ่มของ "นายหาญ" มาตั้งรกรากอยู่บ้านแดง ต.ขุนหาญ อ.ขุนหาญ ในปัจจุบัน และต่อมาได้ไปรับราชการกับพระยาขุขันภักดีศรีนครลำดวน เจ้าเมืองขุขันธ์ เนื่องจาก "นายหาญ" เป็นคนเฉลียวฉลาดอาจหาญ มีปฏิภาณไหวพริบ มีคนเกรงขาม ด้วยความสามารถดังกล่าวจึงได้รับตั้งบรรดาศักดิ์เป็น "ขุน" ขุนหาญ เมื่อเกษียณอายุราชการ ก็ได้กลับมาอยู่บ้านเดิม และ ขณะนั้นได้มีการจัดตั้งหมู่บ้านให้เป็นตำบลจากทางราชการพร้อมเลือกกำนัน ขุนหาญได้รับเลือกจากราษฏรเป็นกำนันคนแรกตั้งชื่อว่า"ตำบลขุนหาญ" ต่อมาทางราชการได้แยกการปกครองให้เป็น "กิ่งอำเภอ" จึงได้นำชื่อ "กิ่งอำเภอขุนหาญ" มาเป็นชื่ออำเภอ "อำเภอขุนหาญ" ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2501 จนถึงปัจจุบัน

สถานที่ท่องเที่ยว[แก้]

  • วัดป่ามหาเจดีย์แก้ว (วัดล้านขวด) ตั้งอยู่ในเขตเทศบาลขุนหาญ สิ่งปลูกสร้างภายในตกแต่งด้วยขวดแก้วหลากสีหลายแบบนับล้านใบที่ชาวบ้านได้ช่วยกันบริจาค เป็นวัดที่มีลักษณะสวยงามแปลกตา โดยเฉพาะศาลาใหญ่ที่เรียกว่า ศาลาฐานสโม มหาเจดีย์แก้ว และนอกจากนี้ยังมีสิมน้ำ (โบสถ์) ภายในเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูป ซึ่งมีความวิจิตรงดงามมาก
  • ปราสาทตำหนักไทร (ปราสาททามจาน) ตั้งอยู่ที่บ้านตำหนักไทร ตำบลบักดอง ริมทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 2127 (ต่อทางของเทศบาลตำบลขุนหาญควบคุม-สำโรงเกียรติ) ห่างจากอำเภอขุนหาญ 20 กิโลเมตร และห่างจากตัวจังหวัด 81 กิโลเมตร เป็นปราสาทอิฐหลังเดียวบนฐานศิลาทราย ก่อด้วยอิฐเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส มีประตูเข้าออกได้ด้านเดียว คือ ด้านทิศตะวันออกซึ่งเป็นด้านหน้า อีก 3 ด้าน เป็นประตูหลอก คือ สลักเป็นรูปบานประตูลงในเนื้ออิฐ บริเวณทางเข้ามีสิงห์จำหลักสองตัว เฉพาะด้านหน้ากรอบประตูเป็นหินทราย แต่เดิมเคยมีทับหลังเป็นภาพพระนารายณ์บรรทมสินธุ์ มีพระชายาลักษมี นั่งอยู่ที่ปลายพระบาท และมีพระพรหมผุดมาจากพระนาภี สองข้างพระพรหมเป็นรูปฤๅษีและบุคคลนั่งในซุ้มเรือนแก้ว ปัจจุบันเก็บรักษาไว้ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพิมาย ปราสาทตำหนักไทรเป็นเทวาลัยในศาสนาพราหมณ์ อายุราวพุทธศตวรรษที่ 16-17
  • น้ำตกสำโรงเกียรติ (น้ำตกปีศาจ) ตั้งอยู่ที่บ้านสำโรงเกียรติ มีต้นกำเนิดจากภูเขากันทุงในทิวเขาพนมดงรัก เป็นน้ำตกขนาดกลาง ตกจากหน้าผาสูง 8 เมตร มีน้ำมากในช่วงเดือนกันยายน-กุมภาพันธ์ เหนือน้ำตกเป็นธารน้ำไหลไปตามลานหิน จะมีความสวยงามในฤดูฝน การเดินทางใช้เส้นทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 2111 เมื่อถึงตัวเมืองอำเภอขุนหาญ เลี้ยวตรงมุมที่ว่าการอำเภอ เข้าทางหลวงหมายเลข 2127 ขุนหาญ-สำโรงเกียรติ ระยะทางประมาณ 20 กิโลเมตร ที่ตั้งนำตกอยู่เลยบ้านสำโรงเกียรติขึ้นเขาไปทางทิศใต้อีกเล็กน้อย ห่างจากตัวจังหวัด 81 กิโลเมตร
  • น้ำตกห้วยจันทร์ (น้ำตกกันทรอม) มีต้นกำเนิดจากทิวเขาพนมดงรัก บริเวณภูเสลา เป็นน้ำตกที่สวยงามไหลลดหลั่นมาตามชั้นหินก่อนไหลลงสู่ลำห้วยจันทร์เบื้องล่าง มีน้ำมากในช่วงเดือนกันยายน-กุมภาพันธ์ บริเวณร่มรื่นด้วยพรรณไม้ป่านานาชนิด เหมาะสำหรับพักผ่อนหย่อนใจ การเดินทางใช้เส้นทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 2111 เข้าตัวเมืองขุนหาญ แล้วแยกไปใช้เส้นทางหลวงหมายเลข 2128 ระยะทางประมาณ 5 กิโลเมตร ถึงบ้านกระเบาเลี้ยวซ้ายขึ้นไปประมาณ 12 กิโลเมตร ถึงโรงเรียนบ้านห้วยจันทร์ เลี้ยวขวาไปอีก 1 กิโลเมตร ก็ถึงที่ตั้งน้ำตก
  • หนองสิ (อ่างเก็บน้ำหนองสิ) หนองสิเป็นแหล่งน้ำตามชาติที่ใช้ในการอุปโภคและบริโภค เป็นแหล่งดูพระอาทิตย์ตกที่สวยงามแห่งหนึ่งของขุนหาญ และเป็นประมงน้ำจืดที่มีธรรมชาติงดงาม
  • เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าพนมดงรัก
  • ปราสาทตำหนักไทร เส้นทางผ่านไปน้ำตกสำโรงเกียรติ

Adobe Acrobat Document ดาวน์โหลดไฟล์   ขนาดไฟล์ 139.32 KB